สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีการระบาดไปทั่วโลกในขณะนี้ จากการศึกษาผู้ติดเชื้อในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนพบว่า ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอื่นได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือโรคเบาหวาน อาจมีอาการ และอาการแสดงที่รุนแรง และมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ติดเชื้อทั่วไป ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเหล่านี้ มักจะต้องรับประทานยาหลายชนิดเพื่อการรักษาโรคเรื้อรัง ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจล้มเหลวที่นิยมใช้ได้แก่ ยาลดความดันกลุ่มยับยั้งเอนไซม์แองจิโอเทนซินคอนเวิร์ทติง (Angiotensin Converting Enzyme Inhibitor) หรือ ACE และยาลดความดันกลุ่มต้านแองจิโอเทนซิน 2 รีเซฟเตอร์ (Angiotensin 2 Receptor Blocker) หรือ ARB
จากการศึกษารหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนาที่ก่อให้เกิดกลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรงชนิดที่ 2 (SARS-CoV2) ที่ก่อให้เกิดโรค COVID-19 ด้วยการตรวจลำดับเบสทั้งจีโนม (Whole genome sequencing) พบว่ามีความคล้ายคลึงกับเชื้อไวรัสโคโรนาที่ก่อให้เกิดกลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง (SARS-CoV) ที่ก่อให้เกิดโรค SARS หรือ เชื้อไวรัสโคโรนาที่ทำให้เกิดภาวะปอดอักเสบตะวันออกกลาง (MERS-CoV) ที่ทำให้เกิดโรค MERS ซึ่งมีการศึกษามาก่อนว่าสามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ โดยอาศัย เอนไซม์แองจิโอเทนซินคอนเวิรทติงชนิดที่ 2 (ACE2) ที่อยู่บนผิวเซลล์เยื่อบุปอด จึงเป็นไปได้ที่ SARS-CoV2 จะเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีเดียวกัน ความผันแปรทางพันธุกรรมในยีน ACE (ACE polymorphism) ของมนุษย์ อาจอธิบายถึงความแตกต่างของความรุนแรงของโรคในแต่ละบุคคล ซึ่งทีมนักวิจัยไทยก็ได้ร่วมวางแผนและทำการศึกษาปัจจัยทางพันธุกรรมของมนุษย์ต่อความรุนแรงหรือความเสี่ยงต่อการเกิดโรค อ่านฉบับเต็มได้ที่นี่
Comments